การแต่งกายพื้นเมืองภูเก็ต


การแต่งกายของคนภูเก็ตจะเป็นการผสมผสานของหลายชนชาติออกมาอย่างสวยงามซึ่งปัจจุบันชาวภูเก็ตยังคงรักษาวัฒนธรรมการแต่งกายแบบจีนบาบ๋าไว้โดยปรับเปลี่ยนรายละเอียดให้เหมาะสมกับยุคสมัยโดยชุดแต่งกายที่นำเสนอจะเป็นการแต่งกายของคนภูเก็ต เมื่อสมัยร้อยกว่าปีมาแล้วซึ่งเป็นการผสมผสานของหลายชนชาติออกมาอย่างสวยงาม





ประวัติวัฒนธรรมการแต่งกาย
เปอรานากัน (มลายู : Peranakan)  หรือ บ้าบ๋า - ย่าหยา  คือกลุ่มลูกครึ่งมลายู - จีน ที่มีวัฒนธรรมผสมผสานและสร้างวัฒนธรรมแบบใหม่ขึ้นมา โดยเป็นการนำเอาส่วนดีระหว่างจีนและมลายูมารวมกัน โดยชื่อ "เปอรานากัน" มีความหมายว่า "เกิดที่นี่"
เปอรานากัน เป็นกลุ่มชาวจีนที่มีเชื้อสายมลายู เนื่องจากในอดีตกลุ่มพ่อค้าชาวจีนโดยเฉพาะกลุ่มฮกเกี้ยนเดินทางเข้ามาค้าขายในบริเวณดินแดนคาบสมุทรมลายู และตัดสินใจตั้งถิ่นฐานในเมือง มะละกาประเทศมาเลเซีย  ในตอนต้นทศวรรษที่ 14  โดยแต่งงานกับชาวมลายูท้องถิ่น โดยภรรยาชาวมลายูจะเป็นผู้ดูแลกิจการการค้าที่นี่ แม้แต่คนในระดับพระราชวงศ์ ก็มีสัมพันธไมตรีระหว่างกันระหว่างสุลต่านมะละกากับจักรพรรดิราชวงศ์หมิง โดยในปี ค.ศ. 1460 สุลต่านมันโซชาห์ ทรงอภิเษกกับเจ้าหญิงฮังลีโปแห่งราชวงศ์หมิงและทรงประทับบนภูเขาจีน หรือ บูกิตจีนา (Bukit Cina) พร้อมเชื้อพระวงศ์อีก 500 พระองค์
สำหรับสายเลือดใหม่ของชายชาวจีนกับหญิงมลายูหากเป็นชายจะได้รับการเรียกขานว่า บ้าบ๋า หรือบ้าบ๋า (Baba) ส่วนผู้หญิงจะเรียกว่า ย่าหยา (Nyonya) และเมื่อคนกลุ่มนี้มีจำนวนมากขึ้นก็ได้สร้างวัฒนธรรมรูปแบบใหม่ที่แตกต่างไปจากเดิมของบรรพบุรุษ โดยมาผสมผสานกันเป็นวัฒนธรรมใหม่ เมื่อพวกเขาอพยพไปตั้งถิ่นฐานในบริเวณนี้ ก็ได้นำวัฒนธรรมของตนกระจายไปด้วยวัฒนธรรมใหม่นี้จึงถูก เรียกรวมๆ ว่า จีนช่องแคบ
           ต่อมาเมื่อสมัยอาณานิคมดัตช์ ช่วงต้นทศวรรษ 1800 ได้มีชาวจีนอพยพเข้ามามากขึ้นจนทำให้เลือดมลายูของชาวเปอรานากันจางลง จนรุ่นหลังแทบจะเป็นจีนเต็มตัวไปแล้วแต่ก็ไม่ได้ทำให้วัฒนธรรมผสมผสานของชาวเปอรานากันจืดจางลงไปเลย การผสมผสานนี้ยังมีให้เห็นในการแต่งกายแบบมลายู  เช่น ซารุง กบายา และชุดย่าหยา  ซึ่งถือเป็นการแต่งกายอันสวยงามที่ผสมผสานรูปแบบของชาวจีนและมลายูเข้าด้วยกันอย่างงดงาม  ฝ่ายหญิงใส่เสื้อฉลุลายดอกไม้ รอบคอ เอว และปลายแขนอย่างงดงาม นิยมนุ่งผ้าซิ่นปาเต๊ะ ฝ่ายชายยังคงแต่งกาย คล้ายรูปแบบจีนดั้งเดิม อาหารแบบเฉพาะตัว และภาษาที่ผสมผสานคำทั้งมลายู จีน และอังกฤษไว้ด้วยกัน ด้วยการรับเอาวัฒนธรรมอันหลากหลายเข้ามาคำเรียกของชาวเปอรานากันนั้น จึงแบ่งเป็นชายและหญิง โดยรับต่อภาษาต่างๆ ที่เข้ามามีอิทธิพลทางด้านวัฒนธรรมในดินแดนแห่งนี้
               บ้าบ๋า หรือบาบ๋า (Baba) เป็นคำที่ภาษามลายู ที่ยืมาจากภาษาเปอร์เซีย โดยคำนี้เป็นคำให้เกียรติแก่ปู่ย่าตายาย โดยคำนี้จะใช้เรียกชาวเปอรานากันที่เป็นผู้ชาย โดยเริ่มจากการเป็นภาษาตลาด จากคนหาบเร่ และผู้ขาย จนสุดท้ายคำว่า บ้าบ๋า นี้ได้ใช้กันโดยทั่วไป
ย่าหยา ญอญ่ะ หรือโญญ่ะ (Nyonya) เป็นคำภาษาชวา ที่ยืมมาจากภาษาดัตช์ คำว่า Dona หมายถึง  ผู้หญิงต่างประเทศแต่งงาน เนื่องจากภาษาชวามีความโน้มเอียง เพื่อเน้นถึงผู้หญิงต่างประเทศ ภายหลังได้ใช้เรียกชาวเปอรานากันที่เป็นผู้หญิง แต่ชาวเปอรานากันในประเทศไทยย่าหยาเป็นคำเรียกชุดสตรีชนิดหนึ่ง
                ในประเทศไทยคนกลุ่มนี้จะอยู่ในจังหวัดภูเก็ต โดยมีบรรพบุรุษอพยพมาจากปีนัง และมะละกาโดยคนกลุ่มนี้มี วัฒนธรรมใกล้เคียงกับกลุ่มเปอรานากันในประเทศมาเลเซีย ,อินโดนีเซีย และ สิงคโปร์ ชาว   เปอรานากันในไทย ใช้ภาษาไทยถิ่นใต้  ที่เจือไปด้วยคำศัพท์จากภาษามาเลย์จีน และอังกฤษ ชาวเปอรานากันในภูเก็ต  นิยมเรียกกันว่า  บ้าบ๋า  ได้ทั้งชาย และหญิง

รูปแบบการแต่งกายและเครื่องประดับ
การแต่งกายของคนภูเก็ตจะเป็นการผสมผสานของหลายชนชาติออกมาอย่างสวยงาม ซึ่งปัจจุบันชาวภูเก็ตยังคงรักษา วัฒนธรรมการแต่งกายแบบจีนบาบ๋าไว้ โดยปรับเปลี่ยนรายละเอียดให้เหมาะสมกับยุคสมัย โดยชุดแต่งกายที่นำเสนอจะเป็นการแต่งกายของคนภูเก็ต เมื่อสมัยร้อยกว่าปีมาแล้ว ซึ่งเป็นการผสมผสานของหลายชนชาติออกมาอย่างสวยงาม  
      
- ชุดเสื้อคอตั้งแขนจีบ ชุดนี้ใช้ได้ตั้งแต่วัยเด็กจนถึงผู้สูงอายุ  ใช้ในชีวิตประจำวัน ในโอกาสไปตลาด ไปวัด ไปไหว้พระที่ศาลเจ้า ผ้านุ่งเป็นผ้าปาเต๊ะ ตัวเสื้อความยาวระดับเอวชายเสื้อแต่งขอบด้วยลูกไม้ คอตั้งติดคอผ่าหน้าติดกระดุมทองหรือเข็มกลัดแถว แขนเสื้อยาวจีบปลายแขน มีกระเป๋าใบใหญ่สองข้าง

- ชุดนายเหมืองและภรรยา ชุดนายเหมือง ประกอบด้วยกางเกงและเสื้อคอตั้ง แขนเสื้อยาว มีกระเป๋าคล้ายชุดราชประเด็น สวมหมวกกะโล่ สำหรับผู้สูงวัยก็จะใช้ไม้เท้าด้วยส่วนภรรยา หากออกงานพิธีการสำคัญๆ จะแต่งชุดเสื้อครุย   ประกอบด้วยเสื้อตัวในเป็นเสื้อคอตั้งปลายแขนจีบเหมือนชุดเสื้อคอตั้งแขนจีบทั่วไป นุ่งผ้าปาเต๊ะ สวมทับด้วยเสื้อครุยยาวผ้าป่านรูเบียหรือผ้ามัสลินมีลวดลาย ติดเข็มกลัดชิ้นใหญ่เป็นชุด เรียกว่าชุดโกสัง ซึ่งมี 3 ตัว ใส่กำไลข้อเท้า สวมรองเท้าปักดิ้นหรือลูกปัด
ทรงผม เกล้าผมทรงสูง ด้านหน้าเรียบตึง ด้านหลังโป่งออกเรียก ชักอีโบย  เกล้ามวยไว้บนศีรษะ ส่วนด้านข้างสองข้างดึงให้โป่งออกเรียกว่า  อีเปง  มวยด้านบนดึงขึ้นเป็นรูปหอยโข่งใช้ดอกมะลิหรือดอกพุดตูมประดับรอบมวยผมแล้วปักปิ่นทอง
               
- ชุดเจ้าสาว มีลักษณะเครื่องแต่งกายและทรงผมแบบเดียวกับชุดคหปตานี ต่างกันที่เสื้อครุยเจ้าสาวส่วนใหญ่จะใช้ผ้าลูกไม้โปร่งหรือผ้าป่านแก้ว ส่วนผ้านุ่งจะใช้ปาเต๊ะสีสด  รอบมวยผมเป็นฮั่วก๋วน หรือ มงกุฎเจ้าสาว ประดับด้วยดอกไม้ไหว ซึ่งทำจากทองคำ ปักปิ่นทองคำ เครื่องประดับ เป็นทองและเพชรอลังการ ใส่ตุ้มหูระย้า สวมสร้อยคอทอง เรียก หลั่นเต่ป๋าย ที่หน้าอกเสื้อจะประดับประดาด้วยปิ่นตั้งทองคำเหมือนรูปดาวเต็มหน้าอก ห้อยสายสร้อยทอง สวมแหวน กำไลมือ กำไลข้อเท้า สวมรองเท้าปักดิ้นเงินดิ้น  ส่วนชุดเจ้าบ่าว จะหันมานิยมสวมสูท แบบตะวันตก แต่ยังนำจี้สร้อยคอหรือปิ่นตั้งมาติดที่ปกเสื้อ
                
- ชุดย่าหยา เป็นชุดลำลอง ตัวเสื้อตัดด้วยผ้าลูกไม้หรือผ้าป่านรูเบีย แขนยาว เข้าเอวรัดรูป ปักลายฉลุทั้งที่คอเสื้อ ชายเสื้อ และปลายแขน ตัวเสื้อด้านหน้าปลายแหลมยาว ความยาวตัวเสื้อจะอยู่ระดับสะโพกบน ปกเสื้อด้านหน้าแบะออกสำหรับติดโกสังหรือกระดุมทองฝังเพชรที่ร้อยเชื่อมด้วยสร้อยทอง ส่วนผ้านุ่งปัจจุบันนิยมใช้ผ้าปาเต๊ะปักเลื่อม เพื่อสนับสนุนงานฝีมือของกลุ่มแม่บ้านในชุมชน

แต่งมาเป็นครอบครัว

 อึ่มหลาง (แม่สื่อ) คนงาม               












                                       บ่าวสาวไหว้บูชาเทวดาฟ้าดิน




ที่มา


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น