ชิโนโปรตุกีสในภูเก็ต



พระยารัษฎานุประดิษฐ์ (คอซิมบี้) เกิดที่จังหวัดระนอง เมื่อวันพุธ เดือน ๕ ปีมะเส็ง พ.ศ. ๒๔๐๐ เป็นบุตรชายคนสุดท้องของพระยารัตนเศรษฐี (คอซูเจียง)จีนฮกเกี้ยนที่ได้รับบรรดาศักดิ์ เลื่อนฐานะจากพ่อค้าเป็นขุนนางพระยารัษฎานุประดิษฐ์ฯ มีมารดาเป็นชาวนา ชื่อกิ้ม เริ่มรับราชการในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเมื่อพ.ศ.๒๔๒๕ โดยพี่ชายคือ พระยารัตนเศรษฐี(คอซิมก๊อง)เจ้าเมืองระนองขณะนั้นเป็นผู้นำตัวไปถวายเป็นมหาดเล็กและได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้เป็นที่หลวงบริรักษ์โลหะวิไสยผู้ช่วยเมืองระนองแล้วเลื่อนเป็นที่พระวัษฎงคตทิศรักษาเจ้าเมืองกระบุรี 

เมื่อ  พ.ศ. ๒๔๒๘ ได้แสดงความสามารถสร้างบ้านบำรุงเมืองให้เป็นที่ปรากฏจึงได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯให้เป็นที่พระยารัษฎานุประดิษฐ์มหิศรภักดี เจ้าเมืองตรังในปีพ.ศ.๒๔๓๓และในปีพ.ศ ๒๔๕๕โปรดเกล้าให้เป็นสมุหเทศาภิบาลมณฑลภูเก็ต 

การสร้างอาคารรุ่นเก่าเหล่านี้ในยุคแรกนั้นมีอิทธิพลของจีนอยู่มากการก่อสร้างส่วนใหญ่เป็นตึกแถว ๒ ชั้น หรือชั้นเดียวกำแพงหนาเพราะใช้ตัวกำแพงรับน้ำหนักกระเบื้องหลังคา เป็นกระเบื้องโค้งแบบจีนรูปทรงหลังคาตลอดจนประตูหน้าต่างและส่วนต่างๆ ล้วนเป็นแบบจีนทั้งสิ้น

ในสมัยต่อมาจึงเริ่มเปลี่ยนแปลงเป็นแบบตะวันตกเนื่องจากได้รับอิทธิพล ชิโน-โปรตุกีส"จากมลายูผ่านทางปีนัง ลักษณะสถาปัตยกรรมแบบชิโน-โปรตุกีสในภูเก็ตเป็นลักษณะผสมผสานระหว่างแบบคลาสสิคเรเนสซองส์และนีโอคลาสสิคของยุโรป กับศิลปะแบบจีนผสมไทย มีอายุตั้งแต่ ๖๐ ถึง ๑๐๐ ปีมีลักษณะเด่นอีกอย่างหนึ่งก็คือ นิยมใช้ซุ้มโค้งบนหัวเสา  (Arch:เป็นลักษณะเฉพาะของสถาปัตยกรรมโรมัน)ตึกแถวที่มีเสาและโค้งเรียงอยู่เป็นแนวอยู่หน้าตึกชั้นล่างซึ่งรับระเบียงชั้นสองทำให้เกิดลักษณะที่เรียกว่า "อาเขต" หรือหงอคาขี่ ในภาษาจีนฮกเกี้ยน ซึ่งหมายถึง ทางเดินกว้าง ๕ ฟุตจีน ที่มีหลังคาคลุมสามารถเดินได้ต่อเนื่องกันตลอดลักษณะอาเขตนี้เคยมีเหมือนกันในตึกแถวยุคแรกๆของกรุงเทพฯ แถวเสาชิงช้าเจริญกรุง บำรุงเมือง เป็นต้น


รูปแบบและลักษณะของเสา
1. Doric Order เป็นแบบที่เรียบง่าย มั่นคงแข็งแรง เป็นแบบแพร่หลายมากที่สุดและเก่าแก่ที่สุดวิหารที่งามที่สุดของกรีกมักเป็นหัวเสาแบบนี้ เนื่องจากชาวกรีกนิยมความเรียบง่ายลักษณะของเสาส่วนล่างจะใหญ่แล้วเรียวขึ้นเล็กน้อย ตามเสาจะแกะเป็นร่องลึกเว้า (Flute) ๒๐ ร่อง ตอนบนของเสาจะมีคิ้วที่โค้งออกมา ( Echinus) รองรับแผ่นหินสี่เหลี่ยม ( Abacus) ต่อจากนั้นจึงเป็นโครงสร้างของจั่ว
Doric Order
ที่มา : images.yourdictionary.com/doric-order

2.  Ionic Order เป็นแบบที่ให้ความรู้สึกอ่อนช้อยนุ่มนวล มีลักษณะเรียบกว่า ดอริค ตอนบนและตอนล่างของเสามีขนาดเท่ากัน มีร่องเว้า ๒๐ ร่องแต่ระหว่างร่องมีแถบเรียง (Filler) คั่นแต่ละร่องเว้าตอนบนของเสาแกะสลักเป็นรูปก้นหอย ( Volute) ส่วนบนจะมีแผ่นหินสี่เหลี่ยม ( Abacus) คั่นไว้เสาแบบไอโอนิค นี้มีขนาดเล็กกว่าเสาแบบดอริค และนิยมสร้างฐาน ( Base) ทำให้เสามีรูปทรงระหงมากขึ้นซึ่งต่างจากเสา    แบบดอริค ที่ไม่นิยมสร้างฐานรองรับ

Ionic Order
ที่มา : images.yourdictionary.com/ionic-order

3. Corinthian Order ให้ความรู้สึกหรูหรา ฟุ่มเฟือย นิยมนำมาเป็นแบบอย่างในสมัยโรมัน ลักษณะหัวเสามีการตกแต่งโดยแกะเป็นรูปดอกไม้ ใบไม้ โดยดัดแปลงมาจากใบอาคันธัส (Acanthus) รูปร่างคล้ายผักกาด ทำเป็นใบซ้อนกันสองชั้นแล้วแต่งด้วยดอกไม้ ส่วนล่างของเสามีฐานรองรับแบบเดียวกับไอโอนิค ลวดลายปูนปั้นของหัวเสา และกรอบประตูหน้าต่างตลอดจนลวดลายตกแต่งต่างๆ ล้วนปราณีตงดงามแบบยุโรป หัวเสามีทั้งแบบโดริคออเดอร์ (Doric Order) ไอโอนิค (Ionic Order) คอรินเธียน (Corinthian Order)และแบบผสมลักษณะต่างๆ อันแสดงออกถึงอิทธิพล "เรอเนสซองส์" และ "นีโอคลาสสิค" แต่บานประตูหน้าต่างตลอดจนการตกแต่งภายใน กลับเป็นแบบจีนปนไทยหรือจีนแท้ผสมอยู่ในลักษณะที่เหมาะสมจึงทำให้ดูงดงามยิ่งนัก
Corinthian Order 
ที่มา : images.yourdictionary.com/corinthian-order

องค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมชิโน-โปรตุกีส
                ตึกแถวแบบชิโน-โปรตุกีสของย่านเมืองเก่าภูเก็ตนี้ ได้รับอิทธิพลในการก่อสร้างมาจาก ปีนัง มะละกา และ สิงคโปร์ องค์ประกอบทางสถาปัตยกรรม ของเปลือกอาคารด้านหน้า (FAÇADE) ของตึกแถวแบบชิโน-โปรตุกีส มีองค์ประกอบสำคัญดังนี้    
                1. ทางเดินเท้าหน้าอาคารหงอคากี่  ซึ่ง หงอคากี่ เป็นภาษาจีนฮกเกี้ยน แปลตามความหมายว่าทางเดินเท้ากว้าง 5 ฟุต เป็นทางเดินเท้าหน้าตึกแถวมีซุ้มโค้งยาวต่อเนื่องตลอดทั้งชุดของตึกแถว ซึ่งแสดงถึงภูมิปัญญาในการออกแบบให้เหมาะสมกับภูมิอากาศร้อนชื้นซึ่งมีฝนตกและแดดออกฝันแปรสลับกันไปทุกฤดูกาล

 หงอคากี่     ที่มา : yuthphuket.worldpress.com

               2.หน้าต่างและประตูบ้านชั้นล่าง ลักษณะของหน้าบ้านแบบจีนที่มีประตูเข้าตรงกลางและมีหน้าต่างสองด้านเป็นลักษณะร่วมอีกประการหนึ่งของตึกแถวแบบชิโน-โปรตุกีส ที่ด้านบนประตูจะมีการแขวนป้ายตระกูล เมื่อเปิดประตูจะพบกับห้องรับแขกซึ่งเป็นพื้นที่ตั้งของแท่นบูชาบรรพบุรุษซึ่งจะต้องอยู่ตรงกลางของทางเข้าบ้าน และเห็นได้ทันที่เมื่อเปิดประตู หน้าต่างทั้งสองข้างเป็นลูกฟักแบบเรียบและมีช่องเปิดด้านบนเหนือหน้าต่างทั้งสองด้านนี้โดยนิยมทำเป็นรูปค้างคาว ซึ่งมีความหมายแสดงถึง ความร่ำรวย



หน้าต่างและประตูบ้านชั้นล่าง
ที่มา : www.paiduaykan.com/76_province/south/phuket/oldtown.html
               
                3. หน้าต่างบ้านชั้นบน หน้าต่างบ้านชั้นบนของอาคารตึกแถวชิโน-โปรตุกีส ได้รับอิทธิพลจากสถาปัตยกรรมตะวันตก ลักษณะเด่นของช่องหน้าต่างชั้นบนของอาคารได้แก่ การก่ออิฐเป็นซุ้มพร้อมลวดลายปูนปั้น หน้าต่างลูกฟักบานเกล็ดไม้  ฯลฯ โดยมีรูปแบบใหญ่ๆ 3 รูปแบบ ดังนี้
                - แบบซุ้มโค้งที่ได้รับอิทธิพลจากศิลปะนีโอคลาสสิก ลักษณะเด่นของซุ้มหน้าต่างรูปแบบนี้ คือ หน้าต่างจะเป็นบานเกล็ดไม้ (มีทั้งปรับได้และปรับไม่ได้ยาวถึงพื้นแบบฝรั่งเศสด้านบนและด้านล่างเป็นลูกฟักไม้ ซึ่งเป็นบานกระทุ้งให้ลมสามารถผ่านได้ กรอบบานมีลักษณะคล้าย เสาอิง (Pilasters) ช่องแสงส่วนใหญ่เป็นโค้งครึ่งวงกลม มีขอบปูนปั้นและมีหินหลักยอดโค้ง (Keystone) 


หน้าต่างบ้านชั้นบน แบบปะนีโอคลาสสิก
ที่มา : www.paiduaykan.com/76_province/south/phuket/oldtown.html

     - แบบซุ้มหน้าต่างที่ได้รับอิทธิพลจากอาร์ตเดโค ลักษณะเด่นของเด่นของซุ้มหน้าต่างรูปแบบนี้ คือ หน้าต่างชั้นบนจะใช้เหล็กดัดลวดลายเรขาคณิตหรือกรุกระจกสีรูปแบบเรขาคณิตซึ่งลวดลายตบแต่งอาคารจะมีทั้งลายดอกไม้และเรขาคณิต


หน้าต่างบ้านชั้นบน แบบอาร์ตเดโค
ที่มา : www.paiduaykan.com/76_province/south/phuket/oldtown.html
    -  แบบซุ้มหน้าต่างที่ได้รับอิทธิพลจากจีน เดิมเป็นรูปแบบซุ้มหน้าต่างที่มีมากที่สุดตามภาพถ่ายเก่าๆ ลักษณะเด่นของเด่นของซุ้มหน้าต่างรูปแบบนี้ คือหน้าต่างชั้นบนจะเป็นบานเกล็ดผสมบานกระทุ้งทั้งผนังด้านหน้ามีขนาดยาวถึงพื้น 
หน้าต่างบ้านชั้นบนของตึกแถวชิโน-โปรตุกีส แบบจีน
ที่มา : www.paiduaykan.com/76_province/south/phuket/oldtown.html














ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น