ชิโนโปรตุกีส




ความหมาย
                คำว่า “ชิโน” หมายถึงคนจีน และคำว่า “โปรตุกีส” หมายถึง โปรตุเกส แม้ว่าอังกฤษและดัตช์จะเข้ามามีอิทธิพลในการผสมผสานศิลปะของตนเข้าไปในยุคหลังด้วยก็ตามซึ่งการก่อสร้างบ้านเรือนในรูปแบบนี้ได้แพร่หลายไปยังดินแดนต่างๆ ในแหลมมลายูสามารถพบเห็นได้หลายที่ ไม่ว่าจะเป็นเมืองมะละกา เมืองปีนัง ประเทศมาเลเซีย สิงคโปร์ หรือมาเก๊า รวมไปถึงประเทศไทยของเราด้วย

สถาปัตยกรรม “ชิโน-โปรตุกีส” (Chino-Portuguese Architecture) ถือกำเนิดขึ้นในดินแดนแหลมมลายูในยุคสมัยแห่งจักรวรรดินิยมของตะวันตก เมื่อประมาณปี พ.ศ. ๒๐๕๔ ชาวโปรตุเกสได้เข้ามาตั้งถิ่นฐานและทำการค้าบริเวณเมืองท่ามะละกา และได้นำเอาศิลปวัฒนธรรมตลอดจนวิทยาการตะวันตกเข้ามาเผยแพร่ด้วยเช่นกัน ซึ่งในช่วงเวลาที่ชาวโปรตุเกสอาศัยอยู่นั้นก็ได้สร้างบ้านเรือนที่พักอาศัยไว้ด้วยการออกแบบสถาปัตยกรรมตามความรู้และประสบการณ์ของตน ทำให้ผลงานสถาปัตยกรรมเหล่านั้นมีรูปแบบแนวตะวันตก ในขณะเดียวกันนั้นเองได้ให้ช่างชาวจีนนำแบบแปลนของบ้านเรือนนั้นไปดำเนินการก่อสร้างแต่ด้วยความรู้และประสบการณ์ประกอบกับความเชื่อที่สืบเนื่องมาจากบริบททางสังคมของช่างชาวจีน ทำให้ผลงานการก่อสร้างอาคารบ้านเรือนเพี้ยนไปจากแบบแปลนที่ชาวโปรตุเกสได้วางไว้ โดยช่างชาวจีนได้ตกแต่งลวดลายสัญลักษณ์รวมถึงลักษณะรูปแบบบางส่วนของตัวอาคารตามคติความเชื่อของจีนเกิดการผสมผสานกันระหว่างสถาปัตยกรรมโปรตุเกสและจีนเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวขึ้นท่ามกลางสังคมของกลุ่มชน ๓ เชื้อชาติอันได้แก่ โปรตุเกส จีน และมาเลย์ ในดินแดนแหลมมลายูตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมาต่อมาเมื่อชาวดัตช์และอังกฤษเข้ามามีอิทธิพลในดินแดนแถบนี้ ก็ได้ปรับปรุงรูปแบบของอาคารดังกล่าว โดยดัดแปลงและสอดแทรกรูปแบบรวมไปถึงลวดลายต่างๆ เพิ่มเติมลงไปในการก่อสร้างตามแบบของตนและก็มีชื่อเรียกลักษณะการก่อสร้างอาคารเหล่านี้ว่าสถาปัตยกรรม ชิโน-โปรตุกีส”

               
โดยสถาปัตยกรรมชิโน-โปรตุกีสเดินทางเข้าสู่ประเทศไทยเมื่อยุคสมัยของ พระยารัษฎานุประดิษฐ์ มหิศรภักดี (คอซิมบี้ ณ ระนอง) เป็นสมุหเทศาภิบาลสำเร็จราชการมณฑลภูเก็ต ในช่วงปีพ.ศ.๒๔๔๔ -๒๔๕๖ ตรงกับสมัยรัชกาลที่ ๕ ในช่วงนั้นถือว่าภูเก็ตมีความทันสมัยมาก ซึ่งพระยารัษฎานุประดิษฐ์ฯ ถือเป็นผู้ที่พัฒนาเมืองภูเก็ตให้มีความเจริญในทุกๆ ด้านโดยเฉพาะการวางผังเมืองภูเก็ตใหม่ประกอบกับในช่วงนั้นภูเก็ตได้มีการติดต่อสัมพันธ์ทางการค้าขายกับปีนังอย่างเฟื่องฟู ทำให้ศิลปวัฒนธรรมวิทยาการใหม่ๆตลอดจนรูปแบบการก่อสร้างอาคารบ้านเรือนแบบชิโน-โปรตุกีสได้แพร่หลายเข้าสู่เมืองภูเก็ต ซึ่งส่วนใหญ่อาคารชิโน-โปรตุกีส จะถูกสร้างขึ้นโดยนักธุรกิจชาวจีนที่มีความร่ำรวยจากการทำธุรกิจเหมืองแร่ดีบุกแต่นอกจากที่ภูเก็ตแล้วก็ยังมีให้เห็นได้ตามจังหวัดอื่นๆ ของประเทศไทยไม่ว่าจะเป็นที่จังหวัดระนอง กระบี่ ตะกั่วป่า พังงา หรือตรัง แต่ถ้าหากให้นึกถึงภาพของอาคารบ้านเรือนสถาปัตยกรรมชิโน-โปรตุกีส ในประเทศไทยที่มีความงดงามและคงความสมบูรณ์ไว้ได้มากที่สุดก็ต้องยกให้ที่จังหวัดภูเก็ต

ที่มา
http://www.phuketvegetarian.com/borad/data/9/0047-1.html


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น